วันอาทิตย์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่  2 
วันศุกที่  15  มกราคม  พ.ศ.2559

เนื้อหาที่เรียน
     อาจารย์ให้นักศึกษาแจกกระดาษและได้สอดแทรกเนื้อหา  การแจกแบบ 1 ต่อ 1  โดยเน้นให้มองว่าคณิตศาสตร์อยู่ในชีวิตประจำวันและจะทำให้เราเห็นภาพซึงจะทำให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นนอกจากนี้ยังสามารถดัดแปลงไปใช้กับชีวิตประจำวันของเด็กปฐมวัยได้อีกด้วย  เช่น การแจกนม  ถ้านมเหลือแสดงว่าเด็กๆมีน้อยกว่าจำนวนนม  หรือนมมีน้อยกว่าจำนวนเด็ก  ซึ่งเป็นการประยุุต์การเรียนคณิตศาสตร์เรื่องการลบอีกด้วย
     จากนั้นทำแผนผังความคิดเรื่องการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  โดยแตกเนื้อหาเป็น  การจัดประสบการณ์,คณิตศาสตร์,เด็กปฐมวัย

ทักษะ/การระดมความคิด
     มีการช่วยกันตอบคำถามของอาจารย์ซึ่งทำให้เกิดแนวคิดที่หลากหลาย

บรรยากาศในห้องเรียน
     ทุกให้ความร่วมมือเป็นอย่างทั้งการตอบถามและการตั้งใจฟังอย่างเรียบร้อย

การจัดการเรียนการสอน
     อาจารย์มีสอดแทรกเนื้อหาในระหว่างกิจกรรมอยู่ตลอดทำให้สามารถเข้าใจบทเรียนได้ดีขึ้นและเข้าใจได้ง่าย  และอธิบายบทเรียนเป็นขั้นเป็นตอนแตกย่อยจากหัวข้อใหญ่ไปเล็กทำให้เห็นภาพมากยิ่งขึ้น

วิเคราะห์ตนเอง
     มีความตั้งใจและให้ความร่วมมือในการตอบคำถามเป็นอย่างดี


วันศุกร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2559

สรุปงานวิจัยที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

ชื่อเรื่อง   การสร้างหนังสือภาพเพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

ผู้เขียน    นางสาวกัญญนันทน์ กิตติ์ชนะภิรมน์

กลุ่มเป้าหมาย  เด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่กำลังเรียนในภาคเรียนที่ 2/2553 โรงเรียนบ้านแม่ลาน อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลำพูน เขต 2 จำนวน 18 คน

วัตถุประสงค์
     1. สร้างหนังสือภาพเพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การรู้ค่าของตัวเลข
0 - 9 สำหรับเด็กปฐมวัย
     2. ศึกษาผลการเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ เรื่องการรู้ค่าของตัวเลข 0 – 9
ของเด็กปฐมวัยหลังการใช้หนังสือภาพ
     3. ศึกษาความคิดเห็นของเด็กปฐมวัยที่มีต่อหนังสือภาพ

การดำเนินงาน
     1. อธิบายถึงวัตถุประสงค์ของการดำเนินกิจกรรมให้เด็กปฐมวัยเข้าใจเพื่อให้การจัด
กิจกรรมการเรียนการสอนดำเนินไปอย่างราบรื่น
     2. ดำเนินการทดลอง โดยผู้ศึกษาเป็นผู้ดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตาม
แผนการจัดประสบการณ์เพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ เรื่องการรู้ค่าของตัวเลข 0 - 9
จำนวน 12 แผน โดยในการดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนจะแบ่งออกเป็น 2 ช่วง
และมีการทดสอบ 2 ครั้ง ดังนี้
          2.1 ผู้ศึกษาจัดกิจกรรมตามแผนการจัดประสบการณ์เพื่อเตรียมความพร้อมทาง
คณิตศาสตร์ เรื่องการรู้ค่าของตัวเลข 0 - 9 ช่วงแรกจำนวน 5 แผน คือ แผนการจัดประสบการณ์
ที่ 1 - 5 แล้ว ทำการทบทวนโดยใช้แผนการจัดประสบการณ์แผนที่ 6 และทดสอบหลังเรียนครั้ง
ที่ 1 โดยให้เด็กปฐมวัยทำแบบทดสอบความพร้อมทางคณิตศาสตร์ เรื่องการรู้ค่าของตัวเลข 0 - 9
จำนวน 5 ชุด ชุดละ 5 ข้อ ข้อละ 1 คะแนน รวมคะแนน 25 คะแนน
          2.2 ผู้ศึกษาจัดกิจกรรมตามแผนการจัดประสบการณ์เพื่อเตรียมความพร้อมทาง
คณิตศาสตร์ เรื่องการรู้ค่าของตัวเลข 0 - 9 ช่วงที่สอง จำนวน 5 แผน คือ แผนการจัด
ประสบการณ์ที่ 7 - 11 แล้ว ทำการทบทวนโดยใช้แผนการจัดประสบการณ์แผนที่ 12 และ
ทดสอบหลังเรียนครั้งที่ 2 โดยให้เด็กปฐมวัยทำแบบทดสอบความพร้อมทางคณิตศาสตร์ เรื่อง
การรู้ค่าของตัวเลข 0 - 9 จำนวน 5 ชุด ชุดละ 5 ข้อ ข้อละ 1 คะแนน รวมคะแนน 25 คะแนน
     3. เมื่อผู้ศึกษาทำการจัดกิจกรรมตามแผนการจัดประสบการณ์จนครบทั้ง 12 แผน
และให้เด็กปฐมวัยทำแบบทดสอบความพร้อมทางคณิตศาสตร์ จนครบทั้งหมด 10 ชุดแล้ว
จึงให้เด็กตอบแบบสอบถามความคิดเห็นของเด็กปฐมวัยที่มีต่อหนังสือภาพ ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้น
จำนวน 10 ข้อ โดยผู้ศึกษาจะเป็นผู้อ่านคำถามแต่ละข้อให้เด็กฟังแล้วให้เด็กทำการตอบคำถาม
โดยการเช็คเครื่องหมายถูกลงในช่องคะแนนที่กำหนดให้

ผลการศึกษาพบว่า
     1. ได้หนังสือภาพเพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ เรื่องการรู้ค่าของตัวเลข 0 - 9
สำหรับเด็กปฐมวัย จำนวน 10 เล่ม ซึ่งสามารถนำมาใช้ได้อย่างเหมาะสม
     2. ผลการเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ ของเด็กปฐมวัยหลังการใช้หนังสือภาพ
ปรากฏว่า นักเรียนทุกคนมีความพร้อมทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การรู้ค่าของตัวเลข 0 - 9 โดยมี
คะแนนเฉลี่ย ร้อยละ 93.39 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ร้อยละ 60.00
     3. ผลการสอบถามความคิดเห็นของเด็กปฐมวัยที่มีต่อหนังสือภาพ ของนักเรียนชั้นอนุบาล
ปีที่ 2 โรงเรียนบ้านแม่ลาน จำนวน 18 คน อยู่ในระดับ มาก ในทุกด้าน


วันเสาร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่  1  
วันศุกที่  8  มกราคม  พ.ศ.2559

เนื้อหาที่เรียน
      -อาจารย์ให้นศ.เขียนบอกลักษณะเด่นของตนเองโดยไม่ลงชื่อจากนั้นอาจารย์จะอ่านลักษณะเด่นแล้วสังเกตว่าเป็นลักษณะของใคร  เพื่อให้นศ.รู้ว่าการเป็นครูปฐมวัยต้องจำเด็กได้ จำลักษณะของเด็กให้ได้โดยการหาจุดเด่นของเด็กแต่ละคน

     -อาจารย์แจกกระดาษให้ทำกิจกรรมแบ่งกระดาษด้วยวิธีการต่างๆของแต่ละกลุ่ม  และอาจารย์ก็ให้คำถามว่ามีวิธีอื่นทีี่จะทำให้แบ่งกระดาษง่ายขึ้นหรือไม่ให้นศ.ช่วยกันตอบ  กล่าวคือการตั้งปัญหาต้องได้รับการแก้ปัญหา  ถ้าเปรียบเทียบจำนวนคนกับกระดาษในตอนนี้สามารถนำไปสอนคณิตศาสตร์กับเด็กเรื่อง การบวกลบ

    -อาจารย์แนะนำรายละเอียดการทำบล็อกเกอร์

ทักษะ/การระดมความคิด
     มีการทำกิจกรรมเป็นกลุ่มทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์หลากหายและมีการใช้เหตุผลรู้จักการแก้ปัญหา

บรรยากาศในห้องเรียน
     มีความร่มรื่นเป็นกันเอง

การจัดการเรียนการสอน
     อาจารย์เตรียมอุปกรณ์มาพร้อม  นศ.สามารถถามได้เมื่อมีปัญหาหรือไม่เข้าใจ

วิเคราะห์ตนเอง
     มีความตั้งใจ