วันอาทิตย์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่  7

วันศุกร์ที่  19  กุมภาพันธ์  2559


เนื้อหาที่เรียน

การจัดประสบการณ์ การเรียนการสอนโดยการแก้ปัญหา
ให้จับคู่แล้วนำไม้ลูกชิ้นและดินน้ำมัน เพื่อสร้างรูปร่างและรูปทรงต่าง ๆ ตามคำสั่งคุณครู โดยมีกระบวนการดังนี้
  1. วิเคราะห์โจทย์
  2. ศึกษาวัสดุที่มีอยู่
  3. ลงมือทำ
  4. ผลงาน
  5. นำเสนอ 
โดยยึดหลัก ATEM  เป็นแนวคิด

  S = Science
  T = technology
  E = engineering
  M = mathematics

การจัดกิจกรรมเกี่ยวกับรูปทรง
-ให้เด็กคุ้นเคยกับรูปทรงต่างๆผ่านการเล่นบล็อก เกมส์การศึกษา หรือสิ่งต่างๆรอบตัว 
-ครูทำรูปแบบที่ให้เด็กเห็นภาพจริง เช่น การตัดไม้มาต่อเป็นรูปร่างแล้วเอาดินน้ำมันเป็นฐานยึด
-ถ้าเด็กยังไม่เห็นด้านของรูปทรงนั้นๆ วิธีการเรียนรู้ คือ ครูให้เด็กตัดกระดาษมาแปะ ตามด้านของรูปทรงนั้นๆ เพื่อให้เด็กเห็นภาพชัดขึ้น และเกิดความเข้าใจในรูปทรง

ตัวอย่างผลงาน



ทักษะ/การระดมความคิด
  • การปรึกษาและแก้ปัญหา
  • การคิดวิเคราะห์
  • การสังเกตและนำมาประยุกต์สิ่งใหม่ๆ
  • การสร้างรูปทรงต่างๆ

การประเมิน

บรรยากาศในห้องเรียน

  • มีความเป็นกันเองอาจารย์มีการพูดคุยถามตอบเสมอ
  • อุปกรณ์มีความพร้อม

การจัดการเรียนการสอน
  • อาจารย์ให้นศ.มีส่วนร่วมและลงมือปฏิบัติ
  • เน้นให้เกิดการคิดวิเคราะห์เป็นสำคัญ

วิเคราะห์ตนเอง
  • มีความเข้าใจและสนใจตลอด
  • จดบันทึกเรื่องราวสำคัญ

วันอาทิตย์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่  6

วันศุกร์ที่  12  กุมภาพันธ์  2559


เนื้อหาที่เรียน

-  การจัดประสบการณ์เรื่องรูปทรงแก่เด็ก
-  ให้เด็กมีการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 กับสิ่งของเพื่อนำมาสร้างภาพในแผ่นกระดาษซึ่งการลงมือทำที่จับต้องได้เป็นการลงมือทำอย่างอิสระเลือกและตัดสินใจได้ด้วยตนเอง
การจัดกิจกรรม
กิจกรรมสอดคล้องต้องกับวิธีการเรียนรู้
สัมพันธ์กับชีวิตประจำวัน 
เนื้อหาเหมาะสมกับพัฒนาการ 
เด็กเกิดการเรียนรู้
  • วิธีการเรียนรู้ หมายถึง การให้เด็กได้ลงมือทำผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5
  • พัฒนาการ หมายถึง ความสามารถของเด็กที่บ่งบอกว่าเด็กจะทำอะไรได้บ้างในระดับอายุ 
  •  การเรียนรู้ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงหลังจากเด็กได้รับความรู้     
-  การสอนแบบ Project Approach

ทักษะ/การระดมความคิด

  • การวิเคราะห์ตามสถานะการณ์
  • การตอบคำถาม
  • การคิดที่แปลกใหม่และสร้างสรรค์

การประเมิน

บรรยากาศในห้องเรียน

  • อาจารย์มีความเป็นกันเองอบอุ่น
  • อุปกรณ์มีความพร้อม

การจัดการเรียนการสอน
  • อาจารย์เริ่มการเรียนโดนการแจกกระดาษให้นศ.ทำช่องสี่เหลี่ยม  แล้วระบายให้เป็นรูปทรงมากที่สุด
  • อาจารย์สร้างสถานะการณ์ตัวอย่างให้ได้วิเคราะห์
  • มีการดูvdoเกี่ยวการการเรียนการสอนของโรงเรียนเกษมพิทยา
วิเคราะห์ตนเอง
  • มีความเข้าใจในเนื้อหา
  • ตั้งใจตอบคำถาม
  • จดบันทึกเรื่องราวสำคัญ

วันเสาร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่  5

วันศุกร์ที่  5  กุมภาพันธ์  2559


เนื้อหาที่เรียน

-  การทำปฏิทินและการใช้ปฏิทินในการสอนคณิตศาสตร์
-  นำเสนอของเล่นที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์(โดมิโน)
-  เกมการศึกษา  8  ชนิด
     เกมจับคู่
     เกมภาพตัดต่อ
     เกมสังเกตรายละเอียดภาพ
     เกมวางภาพต่อปลาย(domino)
     เกมความสัมพันธ์  2 แกน
     เกมเรียงลำดับ
     เกมจัดหมวดหมู่
     เกมพื้นฐานการบวก

ทักษะ/การระดมความคิด

  • การพูดหน้าชั้นเรียน
  • การวิเคราะห์และการแก้ไข
  • การประสานงานกับเพื่อน

การประเมิน

บรรยากาศในห้องเรียน

  • มีความเป็นกันเอง
  • อุปกรณ์มีความพร้อม

การจัดการเรียนการสอน
  • อาจารย์ให้นศ.มีส่วนร่วมอยู่ตลอด
  • มีการให้คำแนะนำแก้ไขในจุดที่บกพร่อกเสมอ

    วิเคราะห์ตนเอง
    • มีความเข้าใจและสนใจตลอด
    • ของเล่นที่เตรียมมานำเสนอมีความผิดพลาดคือเป็นเกมการศึกษา
    • จดบันทึกเรื่องราวสำคัญ
    บันทึกการเรียนครั้งที่  4 (เรียนชดเชย)
     
    วันพุธที่  3  กุมภาพันธ์  2559


    เนื้อหาที่เรียน

    -  กิจกรรมทางคณิตศาสตร์ที่สอดคล้องกับชีวิตประจำวัน
    -  การทำตารางเวลามาโรงเรียน 

    ประสบการณ์ที่เด็กได้
    • การนับ
    • จำนวน
    • ตัวเลข(ภาษา)
    • เวลา
    • การแบ่งกลุ่ม
    หลักการจักการเรียนการสอน
    • กิจกรรมต้องคำนึงถึงพัฒนาการผู้เรียนเรียน
    • เน้นการใช้เครื่องมือซึ่งคือ ประสาทสัมผัสทั้ง 5
    • การที่เด็กได้รับประสบการณ์จะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้
    ทักษะ/การระดมความคิด

    • ได้รู้จักการประยุกต์สิ่งในชีวิตประจำวันให้เป็นการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์
    • การวิเคราะห์เหตุการและคิดตาม
    • การตอบคำถามที่หลากหลาย

    การประเมิน

    บรรยากาศในห้องเรียน

    • อาจารย์มีความเป็นกันเองเมื่อตอบคำถามผิดก็ให้คำแนะนำเสมอจึงทำให้บรรยากาศดูอบอุ่น
    • เพื่อนๆทุกคนตั้งใจเรียนไม่เสียงดัง

    การจัดการเรียนการสอน
    • มีการสอดแทรกเทคนิคการเรียนคณิตศาสตร์ต่างๆอยู่ตลอด
    • เปิดโอกาสให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระ
    • มีการยกตัวอย่างกิจกรรม
    • ให้นศ.มีส่วนร่วมอยู่ตลอด

      วิเคราะห์ตนเอง
      • พยายามตอบคำถามอยู่ตลอดแม้ว่าจะมีผิดบ้าง
      • จดบันทึกเรื่องราวสำคัญ

      วันจันทร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

      บันทึกการเรียนครั้งที่  3  
      วันศุกร์ที่  29  มกราคม  2559

      เนื้อหาที่เรียน
      • แบ่งกระดาษเขียนชื่อนำไปติดกระดานทำเป็นตารางรายชื่อเพื่อที่จะได้เช็คจำนวนนักเรียนซึ่งเป็นการเรียนรู้คณิตศาสตร์ที่อยู่ในชีวิตประจำวันเด็กได้ทักษะหลากหลาย ทั้งการนับเลข  การบอกจำนวน  การแยกกลุ่ม  และจัดลำดับ
      • นักศึกษานำเสนอ  บทความ  ตัวอย่างการสอนและงานวิจัย ที่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์สำหรับเด็ปฐมวัย

      • กิจกรรมร้องเพลงที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์  ได้แก่เพลงสวัสดียามเช้า  เพลงเพลงสวัสดีคุณครู    เพลงหนึ่งปีมีสิบสิงเดือน  เพลงเข้าแถว  เพลงจัดแถวทิศทาง  เพลงซ้ายขวา เพลงขวดห้าใบ

      สาระและมาตรฐานการเรียนรู้
        1  จำนวนและการดำเนินการ
        2   การวัด
        3  เรขาคณิต
        4  พีชคณิต
        5  การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
        6  ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

      คุณภาพทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
        
        1  มีความรู้เชิงคณิตศาสตร์
        2  มีความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับความยาว  น้ำหนัก  ปริมาณ  เงิน  เวลา
        3  มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานทางเรขาคณิต
        4  มีเข้าใจแบบรูปของที่มีรูปร่าง  ขนาด  สีที่สัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่ง
        5  มีส่วนร่มในการให้ข้อมูล  และนำเสนอข้อมูลในแผนภูมิอย่างง่าย
        6  มีทักษะและกระบวนทางคณิตศาสตร์ที่จำเป็น

      ทักษะ/การระดมความคิด
      • ได้มองสิ่งรอบตัวในชิวีตให้เป็นเรื่องในคณิตศาสตร์
      • ได้ทักษะการเรียนรู้เรื่องจำนวน  การแบ่งกลุ่ม  การนับ  การเปรียนเทียบ  การบอกทิศทาง
      • มีการตอบคำถามที่หลากหลายเพื่อเปิดมุมมองทั้งของตนและเพื่อนให้กว้างขึ้น

      การประเมิน
      บรรยากาศในห้องเรียน
      • อาจารย์มีความเป็นกันเองจึงทำให้บรรยากาศดูอบอุ่น
      • เพื่อนๆต่างให้ความร่วมมือทั้งกิจกรรมและเนื้อหาทฤษฎี

      การจัดการเรียนการสอน
      • มีการสอดแทรกเทคนิคการเรียนคณิตศาสตร์ต่างๆอยู่ตลอด
      • เปิดโอกาสให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระ
      วิเคราะห์ตนเอง
      • ตั้งใจเรียน  แต่มีงงบ้างในบางครั้ง
      • ให้ความร่วมมือในการตอบคำถามเป็นอย่างดี
      • วันนี้มาสาย